กล้อง DSLR คืออะไร
มาทำความรู้จักกับกล้อง DSLR กัน
สวัสดีเพื่อนๆ
ทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม blog ของเรา
สำหรับเนื้อที่เราจะมาแบ่งปัน ก็ยังเป็นเรื่องของกล้องเหมือนเดิม โดยจะมาทำความเข้าใจถึง กล้อง DSLR มันคืออะไร
มันสามารถทำอะไรได้บ้าง เรามาดูกันเลย
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกับคำว่ากล้องดิจิตอลกันมาเยอะแล้ว
ซึ่งใน พ.ศ.นี้ ไปที่ไหน ก็มีแต่คนยกเอากล้องดิจิตอลมาบันทึกภาพ เก็บภาพความประทับใจเอาไว้ดูเล่น
โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองฟิล์มหรือเอาไปล้างให้เสียเวลา ก็สามารถเปิดดูภาพถ่ายได้อย่างรวดเร็ว
จะบันทึกเอาไว้สักกี่ร้อยกี่พันรูปก็ได้ แล้วแต่ชอบ ชอบก็เก็บไว้ไม่ชอบก็ลบทิ้งไป
แต่ถ้าหากอยากบันทึกภาพที่มีความละเอียดสูง และมีลูกเล่นที่มากขึ้น แน่นอนว่าคงต้องพึ่งพากล้องดิจิตอลที่มีคุณภาพสูงไปอีกขั้น
จะชัดลึก ชัดตื้น หรือซูมได้ระยะไกล
มันก็ต้องนี่เลย กล้อง DSLR ซึ่งเป็นกล้องดิจิตอลขนาดใหญ่
ที่เพิ่มคุณภาพของภาพถ่ายของเราได้มากขึ้น สวยงามขึ้นจากกล้องดิจิตอลทั่วไป
ได้ภาพที่ชัด มีมิติ ไม่แบนเหมือนกับกล้องดิจิตอลทั่ว ๆ ไป
DSLR ย่อมาจาก
Digital Single Lens Reflex
หรือที่แปลว่ากล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวระบบดิจิตอลนั่นเอง
กล้อง DSLR ก็คือหนึ่งในกล้องดิจิตอล ที่สามารถถ่ายภาพต่าง
ๆ ได้สวยงาม มีมิติ และมีเลนส์ชนิดต่างๆ ให้เลือกใช้ มากมาย เพื่อให้ได้ภาพที่ชัด
สวยงาม และแตกต่าง บางรุ่นจะมีขนาดใหญ่มาก เนื่องมาจากเลนส์ที่มีขนาดใหญ่ และหนัก แต่ก็ทำให้ภาพที่ออกมานั้นสวยมากกว่ากล้องดิจิตอลธรรมดา
แต่มันก็มีราคาสูงขึ้นไปตามลำดับด้วยเช่นกัน
กล้อง DSLR สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้
และมีเลนส์ชนิดต่างๆ
ให้เลือกใช้มากมาย ตามแต่ลักษณะภาพที่ต้องการ อาทิ ถ่ายภาพสัตว์ขนาดเล็ก ถ่ายภาพระยะไกล
ภาพวิวทิวทัศน์ ก็จะต้องเลือกใช้เลนส์ที่แตกต่างกันเพื่อให้ได้คุณภาพที่ต้องการ
และนอกจากนี้ ยังสามารถอีกมากมาย เช่น ปรับโฟกัสได้ตามที่เราต้องการ
สามารถตั้งค่าได้ในระบบอัตโนมัติและระบบแมนนวล ตามความต้องการ
มีเซ็นเซอร์ปรับระดับได้ นิยมใช้ในหมู่นักเล่นกล้อง หรือว่า
นักเริ่มเล่นกล้องก็สามารถทำได้ เพราะสำหรับกล้องดิจิตอล DSLR นั้น
ไม่ได้มีเอาไว้สำหรับบันทึกภาพอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ยังสามารถใช้ได้ในการถ่ายภาพเพื่อความสวยงามอย่างจริงจังได้ด้วย
ได้ภาพที่เสมือนจริงมากกว่า กล้องดิจิตอลโดยทั่วไป
เป็นไงบ้างครับ มาถึงตรงนี้แล้ว เพื่อนๆน่าจะรู้และเข้าใจ
เกี่ยวกับกล้อง DSLR เบื้องต้นกันมากขึ้นแล้วนะครับ เจอกันอีกครั้งกับบทความต่อไปครับ
ขอบคุณครับ
Leave a Comment